หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปัญญัติ ธมฺมานนฺโท (ศิริทน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๐ ครั้ง
ประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบล วังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปัญญัติ ธมฺมานนฺโท (ศิริทน) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย,ดร.
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบล   วังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methodology Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป เป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๖๔ คน จากจำนวนประชากร ๔,๐๓๓ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที(t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๑๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการกำหนดนโยบาย ( = ๓.๑๗) ด้านการปฏิบัติตามแผน ( = ๓.๑๓) ด้านการจัดทำแผน ( = ๓.๑๒) และด้านติดตามผล ( = ๓.๐๐)

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ และ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจุฬา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น นโยบายต่างๆ ถูกกำหนดจากบนลงล่างซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาความยากจน รวมทั้งประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดกิจกรรมด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนขึ้น ส่วนด้านข้อเสนอแนะ พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความยากจน โดยการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล การกำหนดนโยบาย การวางแผนการปฏิบัติงาน ควรมีการสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างปัญหากับแนวทางแก้ไข และรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานให้อย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕