บทคัดย่อ
00000000การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปางศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตามหลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการนำอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของกองบำรุงทางเขตลำปาง จำนวน ๒๑๓ คน โดยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamaneได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ ๑๓๙ คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์(Chi – SquareTest) ( )ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปางศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๐๙)
๒. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และรายได้ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม
๓. ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วมีปัญหาในด้านของการขาดบุคลากรในการปฏิบัติงานและขาดแรงจูงใจที่ดีในการปฏิบัติงาน ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของผู้บริหารในระดับสูงที่จะต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น และสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน เช่น เพิ่มเงินค่าตอบแทน เพิ่มสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดียิ่งขึ้น
๔.แนวทางการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ๑) ด้านฉันทะพบว่าการประยุกต์ใช้หลักฉันทะในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานนั้น เป็นการสร้างความรัก ความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับการทำงาน ตั้งใจที่แน่วแน่ในการทำงานความมุ่งมั่นไม่ ๒) ด้านวิริยะพบว่าการประยุกต์ใช้หลักวิริยะในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนั้น เป็นการทำงานด้วยความมุ่งมั่น อุตสาหะ เพียรพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ๓) ด้านจิตตะ พบว่าการประยุกต์ใช้หลักจิตตะ เป็นการเอาใจใส่กับงานที่ทำอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถมีความรับผิดชอบในงานที่ทำด้วยสำนึกที่ว่าจะต้องทำให้ประสบความสำเร็จตาม ๔) ด้านวิมังสา พบว่าการประยุกต์ใช้หลักวิมังสาในการปฏิบัติงานนั้น เป็นการทำงานด้วยความรอบคอบ หมั่นตรวจตราการทำงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน เมื่อพบอุปสรรคหาสาเหตุแล้วหาทางแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
๕.ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการปฏิบัติงานที่ต้องมีความรักต่องานที่ทำไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีความมานะพากเพียรในการทำงาน เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงานที่ได้รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมาย หมั่นพิจารณาไตร่ตรองการทำงานต่างๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบที่กำหนดไว้ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลด
|