หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จำนง กันทมาดา
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : จำนง กันทมาดา ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ศรีธน นันตาลิต
  พระครูสุนทร สังฆพินิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 บทคัดย่อ

                  

                                           

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล๓)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

 

    ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานอย่างเท่าเทียม (Mixed Methods) ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน ๔,๕๒๔คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างคือ จำนวน ๓๖๘ คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t - test) และ ค่าเอฟ(f-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะทำการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑.ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้

จังหวัดลำพูนพบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=.๑๙)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง

                             ๒. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

                             ๓. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สรุปได้ คือ ประชาชนบางกลุ่มยังขาดความรู้ความเข้าใจทักษะวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในเชิงอนุรักษ์ ดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐควรรณรงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น

๔. เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิธรรมในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เช่น มีการประชุมปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นพร้อมรับฟังความคิดเห็นต่อกัน มีความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ข่มเหงรังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า ให้ความศรัทธาเลื่อมใสเคารพสักการะ และคุ้มครองรักษาสถานที่สำคัญตามความเชื่อพร้อมยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นอย่างดี

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ของตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน๑) ด้านการมีส่วนร่วมคิดวางแผน ควรสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  ๒) ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ ร่วมกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้  ให้มีความชัดเจนให้ยึดถือปฎิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด  ๓) ด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล มีการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินกิจกรรมในการป้องกันและการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ๔) ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ป่าไม้ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมหากในพื้นที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศ มีแหล่งปัจจัยสี่ และทำให้ไดรับผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ นำไปจำหน่ายได้ราคาดีมีรายได้เพิ่มและลดค่ารายจ่ายตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่ดีทำให้มีความสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕