หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กฤษฎากร ธนกิจประภาพันธุ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
การให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล น้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : กฤษฎากร ธนกิจประภาพันธุ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมจิต ขอนวงค์
  สายัณห์ อินนันใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ๑. เพื่อศึกษาระดับการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  ๒. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน  ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  ๔. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

 

                เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๕,๔๑๔ คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) ทำการหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน ๓๔๙ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่า เอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน ๗ รูป/คน ของสาระสำคัญประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) ด้วยวิธีพรรณนาความเรียง

 

                ผลการวิจัยพบว่า

 

                ๑. ระดับการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า มีระดับการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = ๓.๘๗ , S.D. = ๐.๖๐๑ )  

 

                ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนการจำแนกตามอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

                ๓. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า-น้ำประปายังไม่ดีพอ และการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะ  การไม่รักษาคำมั่นสัญญาผิดนัดหมายและไม่รักษาสัญญา และไม่มีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีต่างๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่และพนักงานควรให้ความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ในการแก้ไขระบบไฟฟ้า-ประปา การกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ เอาใจใส่ รีบเร่ง ขวนขวายหางบประมาณมาดำเนินงานบางโครงการที่ล่าช้า เพื่อสนองความต้องการของประชาชนด้วยความเสมอภาค สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

                ๔. แนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทุ่มเทพลังกายพลังใจ สติปัญญา ในการที่จะช่วยเหลือ ชี้แจงปัญหาอุปสรรค ด้วยการใช้คำพูดไพเราะ สุภาพ มีความอดทนอดกลั้นในการชี้แจงแนะนำในบางเรื่องที่ประชาชนยังไม่เข้าใจ อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเต็มใจ ไม่นิ่งดูดายรีบเร่งขวนขวายหางบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ มาสนับสนุนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ล่าช้า ควรอุทิศตนในการทำงาน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีอคติ มีความเสมอภาค และมีความต่อเนื่องในการให้บริการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕