บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค แนวทางข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ ๔) เพื่อศึกษาหลักอปริหานิยธรรมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน ๑๒,๙๔๕ คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ ๓๘๘ คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะทำการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก พบว่า ประชาชนในตำบลป่าสัก มีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= ๓.๑๒)
๒. การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตามเพศ อายุ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑
๓. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สรุปได้คือ ประชาชนมีส่วนร่วมคิด และตัดสินใจกำหนดแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสักระดับมาก โดยประชาชนในการปรับปรุงระบบการบริหารงาน การบริหารงานโดยให้โฮกาสในการเข้ามาร่วมควบคุมในการใช้งบประมาณ และการประเมินแผนงานขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก
๔. ผลการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เน้นเน้นการร่วมคิดร่วมทำงานกับองค์กรและเครือข่ายต่างๆในชุมชน ด้วยการประชุมปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอตลอดมาถึงปัจจุบัน มีการร่วมกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเชิงรุกร่วมกับชุมชน จัดตั้งเป็นคณะกรรมการชุมชน เรียกว่ากลุ่ม ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกับชุมชน เกิดโครงการและเครือข่ายต่างๆ โดยมีผู้นำท้องถิ่นชุมชนประจำหมู่บ้านหรือทำงานร่วมกับกลุ่มผู้นำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนจนเกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชนต่างๆ
ดาวน์โหลด |