หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อัจฉรา ปัญญาฤทธิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อัจฉรา ปัญญาฤทธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  อัครเดช พรหมกัลป์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เป็นสมาชิกบัตรสินเชื่อเกษตรกร จำนวน ๓๖๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล กับการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.17) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ปัจจัยด้านเงินทุน (= ๓.๓๓) ปัจจัยด้านการผลิต (= ๓.๒๙) ปัจจัยด้านการตลาด (= ๓.๒๕) ปัจจัยด้านสังคม (= ๓.๑๐) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านปัจจัยด้านการจัดการ (= ๒.๙๑) 

๒) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาการเป็นลูกค้าของธนาคาร รายได้ต่อปี และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคของการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า สถาบันการเงินในระบบสามารถสนองความประสงค์ของเกษตรกรได้น้อย ไม่สามารถสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีจำนวนมากได้อย่างทั่วถึง เกษตรกรต้องหันไปกู้เงินจากนายทุนเงินกู้ในท้องถิ่น หรือเงินกู้นอกระบบ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ขาดแหล่งน้ำในการจะทำการเกษตร ขาดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ดีในการประกอบอาชีพ และปุ๋ยที่ใช้ไม่มีคุณภาพ และราคาปุ๋ยไม่เป็นธรรม ราคาแพงเกินไป และเกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจการตลาด กลไกของราคาและการตลาด ตลอดจนพ่อค้าคนกลาง มีอิทธิพลอย่างมาก ในการกำหนดราคา

ข้อเสนอแนะต่อการบริหารการจัดการที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างชำระบัตรสินเชื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า รัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางเงินให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร โดยให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อเกษตรกรมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีจำนวนมากได้อย่างทั่วถึงควรจัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกร และสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ตลอดจนเข้าควบคุมการจำหน่ายปุ๋ยของพ่อค้าเพื่อให้ปุ๋ยมีคุณภาพ และราคาปุ๋ยเป็นธรรม มีกำหนดราคาผลผลิตให้เป็นกลางและต้องมีบทลงโทษอย่างร้ายแรงและเด็ดขาดหากพ่อค้าคนกลางรับซื่อผลิตไม่เป็นธรรม อีกทั้งเกษตรกรต้องปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕