หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประยุทธญาณเมธี (วาชัยญะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประยุทธญาณเมธี (วาชัยญะ) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล  ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจำนวน ๑๔๐ คน จากจำนวนบุคลากรทั้งหมด ๒๒๐ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการคือค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดและการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๗ รูปหรือคนและใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือด้านการวางแผนด้านการจัดองค์การด้านการบังคับบัญชาด้านการควบคุมและด้านการประสานงาน

๑) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๒) ปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้บริหารและประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแผน ขาดการศึกษาข้อมูลก่อนจัดทำแผน ระบบการจัดการในองค์กรไม่ชัดเจน สถานที่ทำการเล็กไม่สามารถรับบุคลากรเพิ่มให้เพียงพอต่อปริมาณงานที่เยอะกว่าบุคลากร ผู้บริหารมอบหมายงานไม่ตรงตามความสามารถของบุคลากร ผู้ใต้บังคับบัญชาอายุมากกว่า บุคลากรขาดความรู้ความสามารถไม่ตรงกับสายงาน สั่งงานไม่ชัดเจน ผู้บริหารบางท่านไม่ตระหนักและให้ความสำคัญในกระบวนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่เห็นความจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

๓) ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ให้ความรู้และเอาใจใส่เรื่องการวางแผนศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนการวางแผนงานแบ่งงานการจัดการในองค์การให้ชัดเจนสร้างที่ทำการใหม่ให้มีพื้นที่เพียงพอในการรับบุคลากรเข้ามาทำงานเพิ่มผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถโดยไม่เลือกปฏิบัติรู้จักการถ้อยทีถ้อยอาศัยให้เกียรติซึ่งกันและกันจัดให้มีการอบรมสั่งงานให้ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรผู้บริหารควรกำหนดหรือทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในวัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในควรพิจารณากำหนดแนวทางหรือวิธีการและช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้มากขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕