บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ๓7๕ คนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F – test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)
การวิจัยเชิงคุณภาพนั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) ๗ คน เลือกอย่างเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (structured in-depth-interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth-interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ( = 3.73) มีระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการไปใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ( = 3.65) และที่อยู่ในระดับสุดท้าย คือ ด้านการแสดงประชามติและประชาพิจารณ์ ( = 3.18) อยู่ในระดับปานกลาง
๒. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศและอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ประชาชนส่วนมากได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร และประชาชนไม่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับหมู่บ้าน ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมือง ประชาชนไม่ตระหนัก และใช้ความสำคัญในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในการวางแผนโครงการหรือกิจกรรมของชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของการบริหารเทศบาลตำบลน้อยมาก เนื่องจากเทศบาลได้ทำการประชาพิจารณ์น้อยในการแสดงความคิดเห็น
สำหรับข้อเสนอแนะพบว่า ควรจะมีการจัดกิจกรรมหรือรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ ควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมือง ควรเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เทศบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานในโครงการต่างๆ เพื่อเสนอปัญหาและการสำรวจปัญหาของตนในพื้นที่ที่ประชาชนต้องการเพื่อเสนอทางออกร่วมกันและเสนอต่อเทศบาลให้จัดสรรงบประมาณลงไปแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ควรรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของประชาชนเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป
ดาวน์โหลด
|