บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยจำแนกตามปัจจัยแต่ละบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑,๙๗๖ รูป/คน ซึ่งเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratifile Sampling) จากกลุ่มประชากรจำนวน ๓๓๓ รูป/คน ที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประมาณค่า ๕ ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น ๐.๙๓๔ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) หาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่า (t–test ) และค่า (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ดำเนินการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ รูป/คน ซึ่งเป็นผู้บริหารและนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (=๓.๔๕, S.D. = ๐.๗๗) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านงานบริการและปฏิบัติศาสนกิจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๓.๕๗, S.D. = ๐.๗๙) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านส่งเสริมกิจการและวินัยนิสิต ( =๓.๔๐, S.D. = ๐.๘๕) อยู่ในระดับปานกลาง และด้านงานธุรการและสวัสดิการนิสิตมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=๓.๓๗, S.D. = ๐.๘๔๓) อยู่ในระดับปานกลาง
๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยจำแนกตามส่วนบุคคล พบว่า นิสิตที่มีเพศ สถานภาพ อายุ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แตกต่างกัน ส่วนนิสิตที่มี ระดับชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แตกต่างกัน
๓. ปัญหาและอุปสรรคของต่อ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ขาดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ขาดวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากร ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มบุคลากรให้สอดคล้องกับจำนวนนิสิตที่เพิ่มมากขึ้นและบุคลากรต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ควรมีวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอกับหน่วยงาน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพและขับเคลื่อนภารกิจของหน่วยงานให้ดีขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง และอีกประการหนึ่งมหาวิทยาลัยควรสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิมเพราะนิสิตที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี
ดาวน์โหลด |