บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๓๗๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.) วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( =4.34) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านสัจจะ ( =4.4๐) ด้านทมะ ( =4.34) ด้านจาคะ ( =4.33) ด้านขันติ ( =4.3๐)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วนประชาชนที่มี อายุ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า (๑) ด้านสัจจะ คือ ประชาชนไม่ใส่ใจกับปัญหายาเสพติดในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการวางแผนเพื่อการป้องกันยาเสพติดที่จะเข้ามาในชุมชน ดังนั้น ควรเริ่มจากการทำให้คนในชุมชนมีความปรองดองกันก่อน แล้วให้ผู้นำชุมชนจัดประชุมวางแผนป้องกันยาเสพติดในชุมชน และติดตามประเมินผลการดำเนินการ (๒) ด้านทมะ คือ เยาวชนในชุมชนมีความอยากรู้อยากเห็น โดนท้าทาย และต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนเมื่อถูกชักชวนให้ลองเสพสิ่งเสพติดจึงไม่ปฏิเสธ ดังนั้น ชาวบ้านในชุมชนจะต้องร่วมกันปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้รับรู้ถึงโทษของยาเสพติด สร้างจิตสำนึกร่วมกันของคนในชุมชนให้มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดอย่างจริงจัง (๓) ด้านขันติ คือ เด็กและเยาวชนในชุมชนเป็นวัยที่ถูกชักจูงได้ง่ายเพราะไม่ค่อยมีความอดทนต่อสิ่งที่เข้ามายั่วยุ บ้างก็มีปัญหาทางครอบครัวจึงหันมาใช้ยาเสพติดเป็นทางออก ดังนั้น ควรจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนและคนในครอบครัวได้ใช้เวลาว่างร่วมกันอย่างมีประโยชน์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนในชุมชนให้ห่างจากสิ่งเสพติด (๔) ด้านจาคะ คือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายการป้องกันยาเสพติด เนื่องจากผู้นำชุมชนไม่เข้าไปดูแลตรวจสอบ และขาดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโทษที่เกิดจากยาเสพติดในชุมชน ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ควรเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดประเภทต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนรู้เท่าทันยาเสพติด และควรจัดกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดของชุมชนขึ้น เช่น การเดินขบวนเพื่อต่อต้านยาเสพติดให้ชาวบ้านและเยาวชนได้รับรู้เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เป็นต้น
ทั้งนี้ แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามนโยบายการป้องกันยาเสพติดตามหลักฆราวาสธรรมในตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสรุปได้ดังนี้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต้องเริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยการร่วมมือร่วมใจกันสร้างแบบแผนและวางแนวทางร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้ยาเสพติดเข้ามาสู่ชุมชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมนันทนาการขึ้นในชุมชนเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และจัดอบรมให้ชาวบ้านในชุมชนรู้จักหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักฆารวาสธรรม ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ต่อกันซื่อตรงต่อกัน การรู้จักข่มจิตของตน มีความอดทน และความเสียสละให้กับชุมชน เพื่อป้องกันเด็ก เยาวชน และชาวบ้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดให้โทษตามนโยบายการป้องกันยาเสพติด
ดาวน์โหลด
|