หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาจักรกริช โสภปญฺโญ (วงค์ภักดี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาจักรกริช โสภปญฺโญ (วงค์ภักดี) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุษกร วัฒนบุตร
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัด         ศรีสะเกษ ๒.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ๓.เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ซึ่งใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๒๙๑ คนซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้การเปิดตารางสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie & D.W.Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน๑๖๕คนวิเคราะห์ข้อมูลโดย (frequency) ค่าร้อยละ(percentage) หาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า:

 

๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๙๙)
เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านศีล
(= ๓.๙๙, S.D. = ๐.๕๕) อยู่ในระดับมากรองลงมา คือด้านสมาธิ (=๓.๙๖, S.D. = ๐.๕๓) อยู่ในระดับมาก และด้านปัญญา (= ๔.๐๑, S.D. = ๐.๕๒) ซึ่งอยู่ในระดับมาก

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษโดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

๓) แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผู้บริหารต้องมีความเป็นผู้นำที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตใจเที่ยงธรรม และมีการใช้ความรู้ในการกำหนดนโยบายให้ส่วนเกี่ยวข้องได้มีการวางแผน, จัดทำแผนงานและปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ผู้บริหารควรมีการวางแผนงานในการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาอย่างแท้จริง และมีการปรับแนวทางในการบริหารของหน่วยงานให้ตรงกันผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง, หัวหน้าแผนก ที่มีบุคลากรในการบังคับบัญชาควรให้ความสำคัญหรือมีความเข้าใจนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของหน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติในแต่ละระดับได้

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕