บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบลท่าไม้ จำนวน ๓๗๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.36) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการร่วมจัดทำแผนพัฒนาตำบล (= ๓.4๘) ด้านการร่วมกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล (= ๓.๓๖) ด้านการร่วมตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (= ๓.๓๐) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการร่วมเสนอปัญหาในชุมชน (= ๓.๒๘)
๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอายุ และรายได้ มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหา อุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลไม่คอยสนใจ ความเดือดร้อนตามข้อเสนอของประชาชน ในขณะเดียวกันการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง และประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล จึงทำให้ประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลต้องให้ความสำคัญกับปัญหาของประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ อบต. แล้วนำไปปรับแก้ไขโดยเร็ว ต้องสร้างความเข้าใจให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ จัดการฝึกอบรมประชาชน ให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และสร้างจิตสำนึก การรักท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตลอดจนได้รับองค์การบริหารส่วนตำบลควรประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน ว่าจะจัดกิจกรรม อะไร จัดที่ไหน และต้องประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องก่อนถึงวันจัดกิจกรรม
ดาวน์โหลด
|