บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๙,๓๗๒ คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีโควตา (Quota) เปรียบเทียบจำนวนประชากรกับตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่าง ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕ % จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน ๓๗๐ ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบค่าทีและเอฟ (t-test และ F-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวน ทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน กำนันและผู้ใหญ่บ้านของตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน รวมทั้งสิ้น 14 คน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน โดยภาพรวม ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 3.79) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการ ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ และด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.03) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการมีค่าเฉลี่ย ( = 4.02) ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย ( = 3.98) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ มีค่าเฉลี่ย ( = 3.47) และด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย ( = 3.43)
2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดส่วนใหญ่ คนที่นำเข้ามาในเขตพื้นที่ตำบลบ้านกลาง จะเป็นคนต่างจังหวัด ที่มาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน และมาพักอาศัยในหอพัก ซึ่งไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในตำบลบ้านกลาง ทำให้ยากต่อการควบคุมดูแล ไม่มีการรณรงค์เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่มีความรู้ ความสามารถในการป้องกัน และขาดการแก้ไขปัญหา ผู้ที่ติดยาเสพติดในชุมชน ส่วนมากไม่ให้ ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ในเรื่องของการจำหน่าย การเสพ ตลอดจนการนำตัวผู้เสพไปบำบัด ทำให้ยากต่อการควบคุมและการดำเนินงาน
4) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรที่จะ มีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติดให้มากขึ้น เตรียมตัวรับมือ และหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาของยาเสพติดในปัจจุบัน
ดาวน์โหลด |