หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นราธิป สินธุ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นราธิป สินธุ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักธรรมาภิบาล           2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักธรรมาภิบาล 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทาง ในการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักธรรมาภิบาล                4) เพื่อประยุกต์การนำหลักธรรมมาภิบาลเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่             ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเลือกประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมี 8 หมู่บ้าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ตามลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ เครจซี่ แอนด์ มอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% หรือมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น 5% จำนวน 4,500 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 354 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่า (F- test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท พร้อมกับวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน

 

             ผลการวิจัยพบว่า:

             1)  ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี ( = 3.87)          เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 4.27)         ด้านหลักความคุ้มค่า ( = 4.20) หลักนิติธรรม ( = 4.08) ด้านหลักคุณธรรม ( = 3.91) หลักความรับผิดชอบ ( = 3.27) หลักความโปร่งใส( = 3.25)

             2)  ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก                      ธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่  เพศ, อายุ, สถานภาพ, ระดับการศึกษา, อาชีพ และ รายได้ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, อาชีพและรายได้ แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนประชาชนที่มีสถานภาพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน มีนัยสำคัญอยู่ทีระดับ 0.05

             3)  ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารขาดการถ่ายทอดนโยบายจึงทำให้บุคลากรระดับล่างได้รับข่าวสารไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ขาดความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ ผู้บริหารขาดความยุติธรรม มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ และการไม่ค่อยเอาใจใส่ในการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรมีความใกล้ชิดกับบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ในด้านการบริหารงานโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล และผู้บริหารของแต่ละองค์กรควรคำนึงถึงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลให้ครบทั้ง ๖ ด้าน เพราะหลักธรรมาภิบาลยึดหลักการทำงานที่มีหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นการบริหารการปกครองที่ดีที่ทุกๆ ส่วนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เหมาะที่จะนำมาใช้ในการจัดการบริหารงาน ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้

             4)  แนวทางในการพัฒนา ควรมีการตรวจสอบการกระทำผิดอย่างสม่ำเสมอ มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ควรมีคุณธรรม จริยธรรม และยึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความสงบสุข ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีการประชาสัมพันธ์และเปิดเผยเรื่องกฎหมายจราจรให้ประชาชนทราบ โดยให้มีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงและสามารถตรวจสอบได้ ไม่มีการรับสินบน ไม่มุ่งหวังหรือแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้จากการปฏิบัติงาน ให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดทั้งทางตรง และผ่านองค์กรฝ่ายปกครองในท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของทางตำรวจ มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดกฎหมายในด้านต่างๆ ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างทั่วถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจของสถานีตำรวจภูธร อำเภอหางดง ออกตรวจตราในเวลากลางคืน แหล่งมั่วสุม สถานบันเทิง ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ      และเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕