หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร (นะวะแก้ว)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก(สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร (นะวะแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  อุบล วุฒิพรโสภณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

         การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการนำไปสู่กระบวน การพัฒนา พุทธศาสตรบัณฑิตที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พุทธศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหน่วยวิทยบริการจังหวัดตาก จำนวน ๖ รุ่น มีจำนวนประชากนทั้งสิ้น ๓๓๖ รูป/คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  ๑๘๓ รูป/คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การทดสอบค่าที ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปร ปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และนำเสนอเป็นบทความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

         ผลการวิจัย พบว่า

         ๑) ผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตมีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน คือ ด้านบทบาทการบริการวิชาการรับใช้สังคม ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรับใช้สังคม พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

         ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตต่อบทบาทการพัฒนาสังคม ในจังหวัดตากที่จำแนกตาม สถานภาพ อายุ บัณฑิตรุ่นที่ และประเภทหน่วยงานของท่าน  ตัวแปรที่ทำให้ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ที่แตกต่างกันก็คือ อายุและประเภทของหน่วยงาน ส่วนตัวแปรที่ทำให้ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ไม่แตกต่างกันคือ สถานภาพ และบัณฑิตรุ่นที่

         ๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ควรจัดกิจกรรมเข้าร่วมโครงการต่างๆกับส่วนงานราชการเพื่อสร้างบทบาทในเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ รวมไปถึงการจัดกลุ่มองค์กรในการเผยแผ่ผลงานวิชาการออกสู่สังคม สร้างเครือข่ายด้านการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือมีการจัดอบรมเครือข่ายการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อให้บัณฑิตได้ใช้เป็นฐานในการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้บัณฑิตรุ่นต่อไปได้สานต่องานจิตสาธารณะ

ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ควรมีโครงสร้างการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจนโดยเฉพาะวิทยาลัยสงฆ์ควรจะเป็นหลักที่จะสร้างการสืบสานศิลปวัฒนธรรมให้มีความเด่นชัดขึ้น จัดตั้งกลุ่มโดยองค์กรบัณฑิต หรือศิษย์เก่า การสืบสานศิลปวัฒนธรรมส่งเสริมให้ศิษย์เก่าได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นผู้นำชุมชน วิทยาลัยสงฆ์ควรมีแบบในการส่งเสริมให้บัณฑิตได้ใช้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่อันเป็นการช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

         ด้านพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรับใช้สังคม ควรหาเวลาเพิ่มเติมสิ่งที่ยังขาดหาย และหาข้อบกพร่องในบางประการขององค์ความรู้ในการที่จะถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรด้านพัฒนาสังคมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับบัณฑิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง และสะสมประสบการณ์พัฒนาองค์ความรู้ของตัวเองในการรับใช้สังคม

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕