หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโกวิทบุญเขต (รอด อคฺคจิตฺโต)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตาก(สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโกวิทบุญเขต (รอด อคฺคจิตฺโต) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  สุทธญาณ์ โอบอ้อม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

         การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตาก ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตาก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตาก

 

         การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาขนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลหนองบัวใต้ จำนวน ๓๘๐ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าวิเคราะห์ข้อมูลโดย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ  ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อย และนำเสนอเป็นบทความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

         ผลการวิจัยพบว่า

 

 

         ๑) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

 

         ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าประชาชนที่มี เพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวดตากโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน สำหรับประชาชนที่มี การศึกษาและ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราช จังหวัดตากโดยภาพร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                ๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ข้อเสนอปัญหาอุปสรรคที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการในการตัดสินใจ พบว่า ในการระดมทุนเพื่อจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ตากสินมหาราชที่มีความถี่มากที่สุดคือ ขาดความเป็นเอกภาพทางความคิดและอำนาจในการตัดสินใจเลือกวิธีการระดมทุน การให้ข้อมูลที่มีการประชาสัมพันธ์ไม่มีความชัดเจน คุมเครือก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในการใช้ประกอบกับการตัดสินใจ และไม่สามารถคัดค้านหรือเสนอข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่สามารถกำหนดทางเลือกและแนวทางการปฏิบัติเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ขาดแผนและขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบไม่มีการแยกแยะปัญหาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้สนับสนุนทุนในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจรวมไปถึงทุนทางสังคมน้อย และความกระตือรือร้น โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้ ๑) ควรมีการสร้างเครือข่ายและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเพื่อสร้างเป็นทุนทางสังคม ๒) มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแผนรองรับการพัฒนาองค์กรที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ๓) ควรสร้างองค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรให้มีความรักในองค์กรและมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อองค์กรด้วยความเต็มใจ ๔) การจัดกิจกรรมระดมทุนควรอยู่ในขอบเขตของสังคมและวัฒนธรรมประเพณี ๕) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลในการจัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อสร้างความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕