บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 335 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแต่ละคู่ และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑. ระดับความระดับความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.89) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้วพบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 1).ด้านหลัก นิติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=3.79) 2) ด้านหลักคุณธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=3.66) 3) ด้านหลักความโปร่งใส โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=3.65) 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=3.73) 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=4.36) 6) ด้านหลัก ความคุ้มค่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅=4.11)
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ มีระดับความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนพบว่า ด้านหลักนิติธรรม ยังขาดความรู้ ความเข้าใจด้านกฎหมายและไม่มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง มีการจัดสรรงบประมาณไม่เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน ด้านหลักคุณธรรม เกี่ยวกับควรจะมีการจัดอบรมด้านข้อกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ด้านหลักความโปร่งใส เกี่ยวกับประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมตรวจสอบควรและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ หลักการมีส่วนร่วม ควรจัดให้มีการประชาคมหมู่บ้านและแจ้งข่าวสารข้อมูลการให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการ หลักความรับผิดชอบ ควรมีการเสริมสร้างจิตสำนึกในสิทธิ หน้าที่และยอมรับผลจากการกระทำของตนให้แก่บุคลากร หลักความคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่าและอยากให้ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เน้นการตรากฎหมาย กฎข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมนิยมยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างเทศบาลกับประชะชาชน การรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และการแก้ปัญหาร่วมกันของประชาชน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและร่วมพิจารณา ตระหนักในหน้าที่จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อชุมชน บริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
ดังนั้น เทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ควรส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังเรื่องการปฏิบัติงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้าน อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ราษฎรในพื้นที่และชุมชนควรกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทุกคนได้รับทราบและถือปฏิบัติมีกระบวนการตรวจสอบได้ ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กร ได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ในโครงการต่างๆ และควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนหรือบุคลากรและประชาชนในตำบลก้อ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน หรือประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมต่างๆในชุมชนเพิ่มขึ้น และรณรงค์ให้ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรทุกคน ให้ตระหนักถึงการปฏิบัติงาน และการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยการประยุกต์ใช้ตามหลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในองค์กรและชุมชน
ดาวน์โหลด
|