หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชนิตา จิรวสุกุล
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาท สตรี ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ชนิตา จิรวสุกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุศรา โพธิสุข
  ศรีธน นันตาลิตน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ / มีนาคม/ ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะความคิดเห็นของสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๔) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสตรีต่อแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีวิจัยแบบผสม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้ จำนวน ๓๗๕ คน จากสตรีที่เป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง และสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

   ๑) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

             ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สตรีที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นสตรีต่อการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ระดับ ๐.๐๕          ส่วนสตรีที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

   ๓) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาในการบริหารเกี่ยวกับเวลาการเข้าร่วมประชุมของสตรี เนื่องจากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ทำให้โครงการไม่ต่อเนื่อง ขาดงบประมาณสนับสนุนต่อยอดจากโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ข้อเสนอแนะ ควรมีการแจ้งกำหนดการการประชุมก่อนล่วงหน้า ควรดำเนินโครงการที่ทำอย่างต่อเนื่องและของบประมาณสนับสนุนต่อยอดจากโครงการที่ทำไปแล้ว

 

  

             ๔) แนวทางในการพัฒนากองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง ควรเปิดโอกาสให้สตรีในชุมชนมีส่วนร่วมในการเข้าประชุม เพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนร่วมมือในการบริหารจัดการองค์กร โดยเคารพให้เกียรติผู้บริหารกองทุนกันตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ ตำแหน่งหน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้จัดโครงการกิจกรรมในการพัฒนาสตรีอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาไปสู่สวัสดิการสตรี สร้างความรักให้เกิดขึ้นในองค์กร

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕