หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พิมพ์ประไพ แสงนภาวรรณ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พิมพ์ประไพ แสงนภาวรรณ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  พระครูภาวนาโสภิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 20 มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง  การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ  1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง  อำเภอสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  3) เพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะของการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  4) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี      (Mixed Medthod Research )  ด้วยวิธีทางปริมาณ คุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน  367  คน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  จำนวน  207  คน คิดเป็นร้อยละ  56.4  มีอายุระหว่าง 46-55 ปี  จำนวน ๑1๒ คน คิดเป็นร้อยละ  30.5   มีการศึกษาระดับประถมศึกษา  จำนวน  171  คน คิดเป็นร้อยละ 46.6  ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน ๑44 คน คิดเป็นร้อยละ ๓9.2  มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 66.8

2. ระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก  (X̅  = 4.08)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรม  อยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅ = 4.13)  ในด้านฉันทะ  ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X̅ = 4.03) ในด้านวิมังสา

3.  การเปรียบเทียบความคิดเห็นในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ด้านเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน  ส่วนด้านอายุ     มีความคิดเห็นแตกต่างกัน  จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  

4.  ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบวกค้าง  สรุปได้คือ ชาวบ้านยังไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน  ขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังไม่มีการ ใส่ใจในรายละเอียดของการทำงานมากนัก  ซึ่งควรมีการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเป็นทีมให้มากขึ้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและกำกับดูแลการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่เสมอ  และควรใส่ใจการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นด้วย

5.  ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ  พบว่า  ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนต้องมีความตั้งใจ  มีใจรักในงาน  มีความขยันหมั่นเพียร  มีการปฏิบัติงานอย่างเอาใจใส่  และควรทำงานโดยใช้สติ  อันเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕