หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโกศลสุตากร (สมชาย กุลสโม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
วิเคราะห์กุศโลบายที่ใช้ในการข่มใจ (ทมะ) ตามแนวพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโกศลสุตากร (สมชาย กุลสโม) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

         สารนิพนธ์เรื่อง“วิเคราะห์กุศโลบายที่ใช้ในการข่มใจ(ทมะ)ตามแนวพระพุทธศาสนา” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันจากการไม่ข่มใจ และเพื่อวิเคราะห์กุศโลบายในการข่มใจตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

 ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในสังคมปัจจุบันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทย สาเหตุมาจากสภาวะความไม่สมบูรณ์ของการดำเนินชีวิตระดับครอบครัวโดยมีการละเมิดศีล ๕ เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาความยากจน ปัญหาการไม่ได้รับการศึกษาตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ปัญหายาเสพติด ส่งผลต่อค่านิยมในการดำเนินชีวิตแบบสมัยใหม่ที่มีระบบการสื่อสารแบบโซเชียลเน็ตเวิร์คเข้ามามีบทบาทในการดำรงอยู่ของบุคคลทุกระดับ ทำให้คนในสังคมแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง ก่ออาชญากรรม คอรัปชั่น และฟุ้งเฟ้อกับค่านิยมการบริโภคในวัตถุนิยม ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญ ๓ ประการคือ ๑)ปัญหาไม่รู้จักพอ ๒)ปัญหาไม่รู้จักให้อภัย และ ๓)ปัญหาไม่ยอมรับความจริง

                กุศโลบายที่ใช้ในการข่มใจในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญให้กับบุคคลทุกระดับในสังคม มีวิธีการฝึกที่เหมาะสมและวิธีการนำไปใช้ที่ง่ายสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย กุศโลบายการข่มใจจากความไม่รู้จักพอ ได้แก่ ๑)ทานล้นถ้วย ๒)สันโดษ ๒๔ น. ๓)เศรษฐีพอเพียง เป็นกุศโลบายที่ใช้เพื่อข่มใจจากความโลภ กุศโลบายการข่มใจจากความไม่รู้จักให้อภัย ได้แก่ ๑)น้ำร้อนใจเย็น น้ำเย็นใจสบาย ๒)เมตตาทำ จึงจะค้ำจุนโลก ๓)ร้ายมา ดีตอบ เป็น    กุศโลบายที่ใช้เพื่อข่มใจจากความโกรธ กุศโลบายการข่มใจจากความไม่รู้จักยอมรับความจริง ได้แก่ ๑)เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน  ๒)สติถูกทิศ ชีวิตถูกทาง  ๓)รักแท้ แพ้ความจริง เป็น กุศโลบายที่ใช้เพื่อข่มใจจากความหลง เมื่อทุกคนสามารถนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้าไปใช้ในการข่มใจตนเองได้อย่างเหมาะสมกับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตใจ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการลดกิเลสของตนเองได้อย่างมั่นคง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕