หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิชิต สงวนไกรพงษ์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษา
ชื่อผู้วิจัย : วิชิต สงวนไกรพงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕/กุมภาพันธ์/๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาตามหลักไตรสิกขา และเพื่อวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเอกสาร โดยใช้วิธีการเชิงพรรณนา และการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้

แนวคิดเรื่องนวัตกรรมการศึกษาตามหลักไตรสิกขาพบว่า การจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา เป็นนวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา สาระสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนมี ๓ ประการคือ ๑)  ศีล เป็นการฝึกฝนพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ด้านกายและวาจา  ๒)  สมาธิ เป็นการฝึกด้านคุณธรรม และสมรรถภาพของจิต  ๓) ปัญญา เป็นการฝึกให้เกิดความรู้ ความเข้าใจของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

การวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษาพบว่า วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา ประกอบไปด้วย ๔ ขั้นตอน คือ  ๑) สร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิขึ้นก่อนซึ่งปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นมี ๒ ประการ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ  ๒) เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นในตัวผู้เรียน  ๓) จัดกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล ฝึกด้านความประพฤติปฏิบัติควบคุมกาย วาจา สมาธิฝึกด้านจิตใจ และปัญญาฝึกด้านความรู้ความจริงความมีเหตุผล รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต  ๔) การวัดและประเมินผลตามหลักไตรสิกขาให้ครอบคลุมด้านกาย ศีล สมาธิ และปัญญา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕