บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และ 4) เพื่อศึกษาการนำหลักสัปปุริสธรรมมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ดำเนินการตามระเบียบวิธี วิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง จำนวน 296 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ พบว่า สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องที่มีอายุ สถานภาพ และอาชีพแตกต่างกัน มีการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องไม่แตกต่างกัน ส่วนสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องที่มีการศึกษา และรายได้แตกต่างกันมีการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
3. ปัญหา อุปสรรค พบว่า สตรีบางส่วนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกเท่าที่ควร ขาดความร่วมมือจากบุคคลบางกลุ่ม เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิชายหญิง และข้อเสนอแนะ คือ สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมกัน เสริมสร้างให้สตรีมีความเป็นจิตอาสา เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในท้องถิ่น และควรมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและท้องถิ่นเพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมต่อไป
4. การส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สามารถสรุปได้ ดังนี้ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องให้ความสนใจการส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นให้ก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้นำในด้านต่างๆ มีความต้องการความเสมอภาคทางเพศในสังคม และมีความพร้อมที่จะแสดงศักยภาพของตนเองในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้เปิดโอกาสให้สตรีทุกคนเข้ามามีบทบาทในการทำงานในพื้นที่ของตนมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนในการร่างระเบียบกฎเกณฑ์ในการทำงานร่วมกัน และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากบ่องทั้งนี้การส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นจะช่วยพัฒนาศักยภาพพลังของสตรีให้มีบทบาทที่เข้มแข็งขึ้น
ดาวน์โหลด
|