บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑)เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๒)เพื่อระดับความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม ๓)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธ ของผู้บริหารกับความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม ๔)เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทุติยปาปณิกสูตรในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแมซึ่งการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒,๒๖๒ คน ซึ่งผู้วิจัยได้หากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๔๐ คน จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างง่าย และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคแสควร์และทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธแบบเพียรสัน ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงถึงแนวทางทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมทุติยปาปณิกสูตรในการบริหารกองทุน ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นทำการวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับความคิดเห็นผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารตามหลักธรรมทุติยปาปณิกสูตรต่อความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.91) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิธูโรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅ = 3.9๒) และด้านจักขุมามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X̅ = 3.9๐)
๒. ระดับระดับความคิดเห็นความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล บ้านแม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.๖9) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพึ่งพาตนเองมีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.๗๐) และด้านความมั่นคงเข้มแข็งของกองทุนมีค่าเฉลี่ย (X̅ = 3.๖๘)
๓. การศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม พบว่า ปัจจัยด้านอาชีพมีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ ต่อความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม
๔. ข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมทุติยปาปณิกสูตร ในการบริหารกองทุน พบว่า ด้านจักขุมา การมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรร่วมกันกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน ด้านวิธูโร การบริหารจัดการที่ดี ควรกำหนดโครงสร้าง จัดสรรคัดเลือกคน ให้เหมาะสมกับงาน ด้านนิสสยสัมปันโน การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ทั้งสามด้านนี้มีส่วนสำคัญในการบริหารกองทุนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ๕. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักทุติยปาปณิกสูตรในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านแม โดยมุ่งเน้นการบริหารด้านการมีวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการที่ดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของผู้บริหารกองทุนอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของกองทุนโดยผนึกพลังสร้างความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลด |