หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจักรพงค์ ปิยธมฺโม
 
เข้าชม : ๒๑๐๘๒ ครั้ง
ศึกษาทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระจักรพงค์ ปิยธมฺโม ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกมุทสิทธิการ
  จรูญ วรรณกสิณานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาทุกขเวทนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และเพื่อศึกษาทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมรวม สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

ทุกขเวทนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ ทุกข์ที่เป็นส่วนหนึ่งของทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกข์ในอริยสัจ และทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แสดงทุกขเวทนาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทุกขอริยสัจ อันเป็นสภาวะที่นำไปสู่อุปาทานขันธ์ สามารถที่จะทำให้อุปาทานขันธ์นี้หมดสิ้นไปได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพราะมีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริง และทุกขเวทนานี้จึงเป็นทุกข์ที่นำไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ การปฏิบัติตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน ๔ คือ การกำหนดรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ คือความรู้ที่ประจักษ์แจ้งชัด แม้อิริยาบถจะปิดลักษณะที่เป็นทุกข์ แต่การกำหนดรู้ด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดปัญญาที่รู้ชัดตามความเป็นจริงได้

ทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามี 3 ประการคือ 1) ทุกขเวทนาที่มีกำลังมากในช่วงต้น (กังขาวิตรณวิสุทธิ) หากผู้ปฏิบัติมิได้โยนิโสมนสิการ และปราศจากกัลยาณมิตรให้การแนะนำ ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติเลิกทำความเพียร 2) ทุกขเวทนาที่มีกำลังมากในช่วงกลาง (ปฏิปทาญาณทัศนวิสุทธิ) อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมีทุกขเวทนาซ้ำแล้วซ้ำอีก จนผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้และเบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติ และ 3) ทุกขเวทนาที่มีกำลังมากที่สุดในช่วงสุดท้าย ที่ต้องอาศัยการกำหนดรู้อย่างมีกำลงจดจ่อ จนทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงความบริสุทธิ์ของจิตขั้นสุดท้าย (ญาณทัศนวิสุทธิ) ซึ่งอิริยาบถทั้งหลายไม่อาจจะปิดบังลักษณะที่เป็นทุกข์ได้ต่อไป ความเพียรพยายามในการกำหนดรู้ในสภาวะทุกข์ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ของจิตตามลำดับขั้น (วิสุทธิทั้ง 7 ประการ) จนสามารถเพิกถอนสุขวิปัลลาสที่สำคัญผิดว่ารูปนามทั้งหลายเป็นสุขได้ แล้วถ่ายถอนอุปาทานขันธ์ และตัณหาทั้งหลาย แล้วสามารถเสวยพระนิพพานเป็นอารมณ์จากการกำหนดรู้ทุกขเวทนานั้นได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕