หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายอณิวัชร์ เพชรนรรัตน์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : นายอณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีรัตนดิลก
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  นายสุชาติ นุชพิทักษ์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย หลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยศึกษาใน 4 ประเด็นคือมีขั้นตอนดำเนินงานเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยเอกสาร และ การวิจัยภาคสนาม มีดังนี้
1. การวิจัยทางเอกสาร ศึกษาใน 2 ประเด็น ดังนี้
ก. เพื่อศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของพระพุทธศาสนาเถรวาทผลการศึกษาพบว่า หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นหลักการเดียวกันกับหลักสติปัฏฐาน 4 และ หลักสติปัฏฐาน 4 ยังเป็นหนึ่งในหลักของ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการอีกด้วย ส่วนวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นวิธีการปฏิบัติที่อ้างอิงและอธิบายใน มหาสติปัฏฐานสูตร 21 วิธี ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงสอนโดยให้เริ่มที่หลัก อานาปานสติก่อน แล้วจึงปฏิบัติตามหลัก สติปัฏฐาน 4 เพื่อให้ได้ โพชฌงค์ 7 และบรรลุพระนิพพานในที่สุดข. เพื่อศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผลการศึกษาพบว่า หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยึดหลักการเดียวกับ สติปัฏฐาน 4 ส่วนวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ใช้เป็น วิธีการปฏิบัติเดียวกับใน มหาสติปัฏฐานสูตร 21 วิธี และได้อ้างอิงจากในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมดเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่อง วิสุทธิ 7 และ วิปัสสนาญาณ 16 ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง พระสารีบุตรอธิบายเพิ่มในมหาสติปัฏฐานสูตรของพระพุทธองค์ให้ง่ายขึ้นต่อการเข้าใจ
2. การวิจัยภาคสนาม ศึกษาใน 2 ประเด็น ดังนี้
ก. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อนเริ่ม กับ หลังจบหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐานภาคบังคับ ข. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ ใน เรื่องพละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา)ของ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจบหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐานภาคบังคับผลจากการศึกษาวิจัยภาคสนามสำหรับส่วนที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้ มีประชากรทั้งหมด 195 รูป/คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 54 รูป/คน ด้วยแบบสอบถาม 2 ชุดคือ ก่อนเริ่มและหลังจบหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามที่มีคำตอบที่ถูกและผิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยนี้มีการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้7 ข้อ ด้วยแบบทดสอบสองทางสำหรับข้อที่ 1 และ แบบทดสอบทางเดียวสำหรับข้อที่ 2 – 7 จากการคำนวณค่า Z เทียบกับในตารางค่า Z โดยใช้ระดับความเชื่อมั่น 95 % เพื่อยอมรับ หรือ ปฏิเสธสมมติฐานจากการศึกษาตามสมมติฐานที่ระบุไว้ในงานวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) ความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อนเริ่มกับหลังจบ หลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีความแตกต่างกัน(ปฏิเสธ)
(2) นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตร
วิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ได้รับผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติในเรื่อง ศรัทธา โดยมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 70 %(ยอมรับ)
(3) นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตร
วิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ได้รับผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติในเรื่อง วิริยะ โดยมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 70 %(ปฏิเสธ)
Download : 254923.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕