เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง |
การศึกษาเปรียบเทียบพิธีการจัดงานศพในพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระครูสันติชัยสุนทร (ชยธมฺโม) |
ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระราชสิทธิมุนีวิ |
|
พระมหามงคลกานต์ ฐิตฺธมฺโม |
|
แสวง นิลนามะ |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๘ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาพิธีการจัดงานศพในพระพุทธ-
ศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพิธีการจัดงานศพในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค ๓)เพื่อศึกษา
เปรียบเทียบพิธีการจัดงานศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับพิธีการจัดงานศพในศาสนาคริสต์นิกาย
โรมันคาทอลิค การดำเนินงานวิจัย เป็นการวิจัยเอกสาร โดยใช้พระไตรปิฎก และคัมภีร์ต่างๆ ในทาง
พระพุทธศาสนา ส่วนในศาสนาคริสต ใช้คัมภีร์คัมไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่รวม
ไปถึงเอกสารอ้างอิงอื่นๆ เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ซึ่งผลการวิจัย ผู้วิจัยขอสรุปดังต่อไปนี้
๑) แนวคิดเกี่ยวกับความตายในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ความตาย คือการปฏิบัติต่อ
ชีวิตในขณะที่ยังไม่ตายให้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต และการอยู่เหนือความตาย เป็นความจริงอย่างหนึ่ง
ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญ เมื่อจะต้องเผชิญอยู่แล้วก็ควรรู้จักปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้องให้เกิดผลดี
มากที่สุดและเกิดโทษน้อยที่สุด และแนวคิดเกี่ยวกับความตายในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคคือ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมล้ำลึกของชีวิต ชัยชนะไม่ได้อยู่ที่การหนีความตายได้ แต่อยู่ที่
ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้อง ความหวังคริสตชนตั้งอยู่บน
ธรรมล้ำลึกแห่งความตาย และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้า มนุษย์ได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามา
มีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึก
๒) พิธีกรรมจัดงานศพในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า พิธีกรรมการจัดงานศพในอินเดีย
สมัยครั้งพุทธกาลได้ทำแบบเรียบง่ายไม่มีการละเล่นใดๆ ไม่มีเมรุที่สวยวิจิตรงามตา เพียงแต่นำท่อน
ฟืนกิ่งไม้แห้งมากองเรียงกันให้เรียบร้อยสูงพอประมาณแล้วนำศพขึ้นไปวางบนกองฟืนหรือกองฟอน
ขพิธีกรรมจัดงานศพในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค พบว่า พิธีกรรมศาสนาเกิดจากความเชื่อของ
การจัดพิธีกรรมที่ว่าด้วย ก็ได้รับศีลล้างบาปโดยร่วมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย ถูกแล้ว เรา
ถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์ด้วยศีลล้างบาป เพื่อว่าดุจเดียวกับที่พระคริสตเจ้าได้ทรง
กลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตายเดชะพระฤทธานุภาพของพระบิดา
๓) ลำดับขั้นพิธีกรรมการจัดงานศพของพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า ๑) อาบน้ำศพ
๒) การแต่งตัวศพ ๓) พิธีรดน้ำศพ ๔) เงินใส่ปากศพ ๕) การปิดหน้าศพ ๖) ตราสัง ๗) การบรรจุศพลง
โลง ๘) การสวดศพ ๙) การเซ่นไหว้ศพ ๑๐) การบวชหน้าศพ ๑๑) การสวดพระอภิธรรมหน้าไฟ
๑๒) การเก็บอัฐิ ลำดับขั้นพิธีกรรมการจัดงานศพของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค ประกอบด้วย
จัดการเฝ้าศพ หรือวจนพิธีกรรมเพื่อผู้ล่วงลับ เริ่มบทภาวนาเมื่อวางศพบนแคร่หาม ไปยังสถานที่พัก
ศพแห่งแรกที่บ้านผู้ล่วงลับ แห่ไปยังโบสถ์ ไปยังสถานที่พักศพแห่งที่สอง โบสถ์เริ่มพิธีมิสซา ทำพิธี
ส่งวิญญาณและอำลาผู้ล่วงลับครั้งสุดท้าย แห่ศพไปสุสาน ไปยังสถานที่พักศพแห่งที่สาม ที่หลุมศพ
๔) หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ใน
เครื่องประกอบของมารไม่มีความเกษมจากโยคะประสบกับความเกิดและความตายท่องเที่ยวไปสู่
สังสารวัฏ เมื่อมนุษย์เกิดมนุษย์ก็ต้องตายซึ่งถือว่าเป็นธรรมดา ส่วนของศาสนาคริสต์นิกายโรมัน
คาทอลิค พบว่า พระเยซูคริสต์เจ้าเป็นที่ทราบกันดีสำหรับผู้ที่ศึกษาในประวัติของพระองค์ท่านว่า
พระองค์นั้นทรงเป็นตัวแทนของความรักและแบบอย่างของการใช้วิธีการในการทำลายความชั่วคือ
ความโกรธความแค้น
๕) วิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลของพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า การทำบุญอุทิศให้พอ
รุ่งเช้าของการทำบุญฉลองอัฐิเจ้าภาพลูกหลานก็จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรนิมนต์พระสงฆ์สวด
มาติกา ถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์และทอดเครื่องบังสุกุล ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม อุทิศส่วนบุญ
ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับต่อไป ต่อจากนั้นก็ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ส่วนทางศาสนาคริสต์นิกาย
โรมันคาทอลิค คือ ๑) การสวดปลงศพที่ใช้ในเทศกาลต่างๆ ๒) การอุทิศส่วนกุศลสำหรับวันรอบปี
๓) สำหรับระลึกถึงผู้ล่วงลับอื่นๆ ในการอุทิศส่วนกุศล
๖) ประโยชน์ของการจัดงานศพของพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ๑) เพื่อเป็นการสร้าง
กำลังใจ ๒) ได้บำเพ็ญคุณธรรม ๓) ได้อุทิศกุศล ๔) เป็นเรื่องสำคัญ ๕) เพื่อระลึกถึงผู้ตาย ๖) ให้
โอกาสมาขออโหสิกรรม ๗) เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้มีชีวิต ๘) เป็นการสังสรรค์ญาติพี่น้องตามธรรมดา
๙) เป็นการความกตัญญู ส่วนทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค คือ เป็นการระลึกถึงพระเยซู-
คริสตเจ้าบนไม้กางเขน การถวายพระเยซูคริสตเจ้าแด่พระบิดา ตามแผนการความรอดหนึ่งเดียวเป็น
สายสัมพันธ์แห่งความรักของประชากรพระเจ้า ซึ่งทุกคนได้รับเรียกเข้าสู่ “ความสนิทสนมสัมพันธ์”
กับพระเจ้าโดยดำเนินชีวิตสนิทสัมพันธ์
ดาวน์โหลด |
|
|