หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาสุรพงษ์ สุรวํโส (หลงประดิษฐ์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อเรื่องโชคลางกับการประกอบอาชีพค้าขายของผู้ค้าในตลาดชุมชนวัดบำเพ็ญเหนือ “ตลาดน้ำขวัญเรียม” เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาสุรพงษ์ สุรวํโส (หลงประดิษฐ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธวรกิจจานุการ
  เสนาะ ผดุงฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                     วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องโชคลางกับการประกอบอาชีพค้าขายของผู้ค้าในตลาดชุมชนวัดบำเพ็ญเหนือ ตลาดน้ำขวัญเรียมเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อความเชื่อเรื่องโชคลางกับการประกอบอาชีพค้าขายของผู้ค้าในตลาดชุมชนวัดบำเพ็ญเหนือ ตลาดน้ำขวัญเรียมเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจงจากผู้ประกอบอาชีพค้าขายในตลาดชุมชนวัดบำเพ็ญเหนือ ตลาดน้ำขวัญเรียมเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น ๑๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๕ สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนสถิติที่ใช้ศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ สถิติการแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANOVA) ถ้าปรากฏนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé)  ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า

             การศึกษาความเชื่อเรื่องโชคลางโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่ากลุ่มผู้ค้าส่วนใหญ่มักจะเลือกฤกษ์ยามในการดำเนินงานโดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เป็นมงคล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าเพศหญิงมีความเชื่อเรื่องโชคลางที่สูงกว่าเพศชาย และกลุ่มผู้ค้าที่มีอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี เชื่อเรื่องโชคลางที่แตกต่างกับกลุ่มที่มีอายุ ๓๖-๔๕ ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อความเชื่อเรื่องโชคลางกับการประกอบอาชีพค้าขายของผู้ค้าในตลาดชุมชนวัดบำเพ็ญเหนือ ตลาดน้ำขวัญเรียมเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มผู้ค้ามักจะใช้ความเชื่อส่วนตัวเรื่องโชคลางและดวงชะตาเป็นส่วนหนึ่งสำหรับกำหนดงบลงทุน โดยรับคำแนะนำจากหมอดูและนำเอาคำแนะนำนั้นไปเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ และการประเมินผลการดำเนินธุรกิจ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕