บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่บุตรที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง จากนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๑๘๐ คน สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ สถิติการแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANOVA) ถ้าปรากฏนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า
พฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่บุตรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ๑) นักศึกษาตอบแทนคุณบิดามารดาโดยนำอาหารที่บิดา/มารดาชอบไปฝาก๒) แบ่งเบาภาระของบิดามารดาโดยช่วยทำงานภายในบ้าน เช่นงานบ้านต่างๆ เพื่อลดภาระงานของบิดา/มารดา๓) การดำรงรักษาวงศ์ตระกูล เช่น มักพาบิดา/มารดาไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง/เพื่อนฝูง๔) ด้านการแบ่งเบาภาระของบิดามารดา ส่วนใหญ่มักทำกิจกรรมในบ้านร่วมกันในวันหยุด เช่น รับประทาน อาหาร ดูทีวี ปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์ เป็นต้นและ ๕) ด้านการทำบุญอุทิศให้บิดามารดา ส่วนใหญ่มักพาบิดา/มารดา ไปงานมงคล /งานทำบุญ / งานศพ
พฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่บุตรที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่บุตรที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ปัจจัยบุคคลเพศ ชั้นปี บุตรลำดับที่ และอาชีพผู้ปกครอง ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่บุตรที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด
|