บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจเรื่องเบญจศีลของนักเรียนโรงเรียนวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ รวมจำนวนทั้งสิ้น๙๘ คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนสถิติที่ใช้ศึกษาวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ สถิติการแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance :ANOVA) ถ้าปรากฏนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการศึกษา พบว่า
นักเรียนชายมีค่าเฉลี่ยความเข้าใจเรื่องเบญจศีลสูงมากกว่านักเรียนหญิง และพบว่ามีความเข้าใจเบญจศีลทุกข้อที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจเรื่องเบญจศีลของนักเรียนโดยจำแนกตามระดับชั้นการศึกษา พบว่า ๑) ความเข้าในศีลข้อ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าในเรื่องเบญจศีลที่สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๒) ความเข้าในศีลข้อ ๒ เว้นจากการลักทรัพย์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าในเรื่องเบญจศีลที่สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๓) ความเข้าในศีลข้อ ๓ เว้นจากประพฤติผิดในกาม พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าในเรื่องเบญจศีลที่สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๔) ความเข้าในศีลข้อ ๔ เว้นจากการพูดเท็จพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าในเรื่องเบญจศีลที่สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และ ๕) ความเข้าในศีลข้อ ๕ เว้นจากการดื่มสุราเมรัย พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าในเรื่องเบญจศีลที่สูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด
|