คัมภีร์อเผคคุสารทีปนีจูฬฎีกา เป็นคัมภีร์ที่อธิบายถึงเรื่องจิต เจตสิก รูป และนิพพานอธิบายไขความจากคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี เป็นคัมภีร์ที่ได้รับความนิยมศึกษากันอย่างแพร่หลายอยู่ ในประเทศไทย ลาว พม่า เขมร และมอญ แต่งโดยพระติปิฎกธร ชื่อว่ามหาสุวรรณทีปเถระ ชาวพม่า ประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๓ วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อปริวรรตและตรวจสอบชำระคัมภีร์อเผคคุสารทีปนีจูฬฎีกา ๓ ฉบับคือ ๑. ฉบับทองทึบ ๒. ฉบับล่องชาด ๓. ฉบับพม่า ในด้านเนื้อหาที่ต่างกันลักษณะภาษา สำนวนโวหาร วิธีจารตัวเขียนต้นฉบับ ข้อผิดพลาดที่พบในการจารและไวยากรณ์ เพื่อให้ได้คัมภีร์อเผคคุสารทีปนีจูฬฎีกา ฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดพร้อมทั้งแปลเป็นภาษาไทยร่วมสมัยผลของการวิจัยพบว่า คัมภีร์อเผคคุสารทีปนีจูฬฎีกาทั้ง ๒ ฉบับ ในส่วนของเนื้อหาลักษณะภาษา และสำนวนโวหาร มีความแตกต่างกันไม่มากนัก แต่วิธีจารตัวเขียนต้นฉบับนั้น มีความแตกต่างกัน เช่น จารผิดไวยากรณ์ อาทิ ปฐมาวิภัตติ เป็นเอกวจนะ กิริยา เป็นพหุวจนะ จารผิดศัพท์ อาทิ จาร ? อักษร เป็น ถ อักษร สันนิษฐานว่าผู้จารมีความรู้ภาษาบาลีไม่เพียงพอ ขาดความรอบคอบในการจาร ถ้ามีความรู้ภาษาบาลีดี ก็แก้ไขปรับปรุงและเพิ่มเติมเอง หรืออาจจะมีการจารภาษาบาลีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละยุคสมัย เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการการจารภาษาบาลีแต่ละยุค แต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี
Download : 254918.pdf