บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องการศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในปราสาทหินพิมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศิลปกรรมของปราสาทหินพิมาย และศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏปราสาทหินพิมาย ผลการศึกษาพบว่า
ปราสาทหินพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และเจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยพื้นที่ราบมีแม่น้ำล้อมรอบ รูปทรงมีการตกแต่งอย่างงดงามโดยแกะสลักลงในเนื้อหินทรายขาวเป็นลวดลายประดับในส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ส่วนฐาน ผนัง ประตู หน้าต่าง เสาติดผนัง เสาประดับกรอบประตู ทับหลัง และหน้าบัน โดยแบ่งออกเป็นศิลปกรรม คือ สถาปัตยกรรมและประติมากรรม
ความเชื่อเป็นการยอมรับหรือเชื่อถือในเรื่องราวต่างๆทั้งที่เป็นเหตุและผลซึ่งเกิดจากการความต้องการที่จะเคารพ ในพระพุทธศาสนาวัชรยานเป็นความเชื่อที่ว่าด้วยการใช้อำนาจลึกลับดลบันดาลให้เกิดความเป็นไปต่าง ๆ เพื่อแสดงความกตัญญูแก่เทพเจ้าที่ได้ประทานผลสำเร็จ ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในปราสาทหินพิมาย โดยแบ่งเป็น ด้านสถาปัตยกรรม คือ เป็นการสร้างตามคติพราหมณ์และพระพุทธศาสนาวัชรยาน เพื่อเป็นการอุทิศให้กับบรรพบุรุษ โดยยึดแบบเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีแม่น้ำล้อมรอบเปรียบดังมหาสมุทร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ เพื่อถวายแด่พระนารายณ์พระโพธิสัตว์ที่มีหน้าที่ดูแลและคุ้มครองโลก ด้านประติมากรรม ประดับตกแต่งด้วยลักษณะประติมากรรมลอยตัว ประติมากรรมนูนต่ำ ประติมากรรมนูนสูง โดยเป็นรูปของบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ และพระโพธิสัตว์ประจำทิศของประตูหน้าบันและทับหลัง ออกมาเป็นศิลปะการร่ายรำในท่าต่าง ๆ ตลอดทั้งสลักภาพเป็นรูปของพระโพธิสัตว์จากเรื่องราวของมหากาพย์ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาวัชรยาน
ดาวน์โหลด
|