หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เกียรติศักดิ์ คำภักดี
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๕ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติธรรมตามแนวของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันกับการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาของชาวพุทธ
ชื่อผู้วิจัย : เกียรติศักดิ์ คำภักดี ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                      สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักและวิธีการปฏิบัติธรรมของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน และเพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธที่มีต่อการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ปฏิบัติสวนเวฬุวัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า  ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น ได้จัดตั้งตามเจตนารมณ์และปณิธานของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ท่านต้องการให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมมากกว่าให้เป็นวัด นำของดี (ศูนย์ปฏิบัติธรรม) คืนสู่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ในการปฏิบัติสมาธิ ได้ยึดหลักสติปัฎฐาน ๔ คือ ๑) กายานุปัสสนา เป็นการพิจารณากายในกาย  ๒) เวทนานุปัสสนาพิจารณาเห็นเวทนา  ๓) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นจิต ๔) ธรรมานุปัสสนา  พิจารณาเห็นธรรม

ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของชาวพุทธที่มีต่อการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา คือการสมาทานศีลเป็นข้อปฏิบัติสำหรับอบรมทางด้านความประพฤติ แล้วฝึกปฏิบัติสมาธิเป็นหลักปฏิบัติสำหรับอบรมจิตให้เกิดสมาธิ  และหลักปฏิบัติสำหรับอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดสติปัญญาได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดผลทั้ง ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านกาย มีความประพฤติที่ดีงามทางกาย วาจา และอาชีพที่สุจริต  ๒.ด้านศีล มีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพื่อนชุมชนและมีการปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้ดี มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน สร้างสรรค์สังคม ๓. ด้านจิตมีความตั้งใจแน่วแน่อยู่กับการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างมีสติรู้ตัวตลอดทำให้เกิดสมาธิ มีจิตอาสา ๔.ด้านปัญญา มีทัศนคติที่ถูกต้องมีความรู้ความเข้าใจเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง  ฉลาดรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องตามหลักไตรสิกขา

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕