บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันผ่านหลักธรรมิกราชที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองนั้น ขุนเจือง หรือท้าวเจือง (พญาเจือง) เป็นนามของวีรบุรุษคนไทลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนก่อนสมัยสุโขทัย ในวรรณกรรมชนชาติไทในล้านนา ล้านช้าง สิบสองพันนา และไทดำเวียดนามเหนือที่เขียนถึง ขุนเจือง
เมื่อวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทยผ่านหลักธรรมิกราชที่ปรากฏในวรรณกรรมท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ปรากฏว่าในการปกครองแผ่นดินมี ๒๓หลัก ได้แก่ อย่าสั่งการตามใจ การพัฒนาปกครองบ้านเมืองให้พิจารณาให้อย่างถ่องแท้ ให้ปกป้องดูแลญาติ พี่น้อง รักประชาชน ให้ประพฤติถือตามจารีตประเพณี, อย่าลำเอียงให้ความเท่าเทียมกัน ควรผูกมิตรต่างเมืองเอาไว้เอาไว้ ในยามสงบให้รู้จักซ่อมแซม คูนดินทำถนน สะพานให้แข็งแรง ให้สามารถใช้เดินออกศึกได้สะดวก อย่าเป็นคนถือดี อวดโอ้ โมโหร้าย ไม่รู้จักเอาใจใส่บ้านเมือง ให้อยู่เป็นผู้นำเมื่อเกิดศึกสงคราม ให้เอาใจใส่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อย่าประมาทต่อศัตรู อย่าไปเบียดเบียนผู้อื่น คิดอะไรให้รอบครอบ ให้รู้จักรักษาเชื้อแถว โคตรวงค์ เก็บความลับเป็น ละกิเลสได้ อย่าข่มเหงไพร่ฟ้าประชาชน อย่าข่มขู่ขุดรีด ให้รู้จักตอบแทนบุญคุณ รู้จักให้อภัย, พวกลิ้นอ่อนปากหวาน อยู่ต่อหน้าพูดดี หลับหลังพูดร้าย ยามเมื่อรักกันพูดแต่งแนวดี เวลาผิดใจกันเหมือนกับจะฆ่ากันได้ และสุดท้าย ให้รู้จักนำความเจริญไปสู่บ้านเมืองที่ตนไปอยู่อาศัย
ดาวน์โหลด
|