หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสังเวียน ธีรปญฺโญ (สาผาง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การข้ามโอฆะในพระสุตตันตปิฎก
ชื่อผู้วิจัย : พระสังเวียน ธีรปญฺโญ (สาผาง) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอฆะในพระสุตตันตปิฏกและวิเคราะห์หลักธรรม ที่ใช้เป็นเครื่องข้ามโอฆะ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า คำว่า โอฆะ เป็นการเรียกชื่อของกิเลสประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายถึง ห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้ยาก ห้วงน้ำในวัฏฏะการเวียนว่ายตายเกิด และเป็นเครื่องผูกของ  ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพรัดพาก ความพิไรรำพัน ห้วงน้ำใหญ่ที่ผูกพันมนุษย์ ๔ อย่าง คือ ความอยากในกามคุณ ความอยากในภพ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ความไม่รู้ในทุกข์ ห้วงน้ำใหญ่ที่ผูกพันมนุษย์ ๕ คือ กิเลสที่รับรู้ได้ทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และห้วงน้ำใหญ่ที่ผูกพันมนุษย์ ๖ หมายถึง กิเลสที่รับรู้ได้ทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

หลักธรรมที่ใช้เป็นเครื่องข้ามโอฆะ ได้แก่ การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ การละสังโยชน์ ๑๐ และเจริญอินทรีย์ ๕  ฉลาดในการพิจารณาองค์ธรรมที่เป็นเหตุปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้น หรือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสัญญาทั้งหลาย การไม่หยุดจมอยู่ในกองกิเลส และไม่พยายามทำตัวเองให้ลำบาก เป็นผู้ยึดมั่นในศรัทธาหรือศรัทธาวิมุต เป็นผู้ไม่มีอะไร ๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วธรรม มีปกติเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌานที่ ๔ หลักธรรมทั้งหมดนี้ ใช้เป็นเครื่องข้ามโอฆะซึ่งปรากฎในพระสุตตันตปิฎกตามที่กล่าวแล้ว

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕