หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม (เขื่อนเพชร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของเยาวชน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม (เขื่อนเพชร) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระใบฏีกาเสน่ห์ ญาณเมธี
  ไพฑูรย์ รื่นสัตย์
  ส่งเสริม แสงทอง
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 งานศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของเยาวชน” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย  ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและผลกระทบที่เกิดความรุนแรงของเยาวชน ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของเยาวชน ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชน

                 ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมที่เป็นสิ่งโน้มน้าวให้เยาวชนเกิดความทุกข์ทรมาน โดย ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งด้านร่างกาย วาจา และจิตใจ จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความรุนแรงทางเพศ ด้านยาเสพติด ด้านการพนัน ด้านอาชญากรรม  มีสาเหตุมาจากความอ่อนแอที่มีอยู่ในชุมชน ความไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา โดยปัจจัยภายนอก ได้แก่ หน่วยสัมพันธ์ทางครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ได้อ่อนแรง ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี คบเพื่อนชั่ว ปัจจัยภายใน เยาวชนมีค่านิยมที่ไม่ดี หลงใหลไปตามกระแสวัตถุบริโภคนิยมสมัยใหม่ แล้วไปลดทอนระเบียบวินัย ศีลธรรมที่ดีงามต่าง ๆ ให้น้อยลง เยาวชนหละหลวมเรื่องศีล และจิตสำนึกในการใฝ่ดี มีมูลเหตุมาจาก อวิชชา  ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคมประเทศชาติ

                 พุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของเยาวชน  ตามหลักปธาน ๔ คือ ป้องกัน ปราบปราม รักษา  เร่งสร้าง  (กรอบแนวคิดพุทธวิธี  ๒ ป ๒ ร) หลักควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้ปกติ  พุทธวิธีประกอบด้วยปัจจัยภายนอก การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และกัลยาณมิตร ปัจจัยภายใน การปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม (ศีล) การสร้างจิตสำนึก          การเพิ่มพูนคุณธรรมความดี และรักษาคุณธรรมความดี ด้วยการฝึกฝนในด้านจิต (สมาธิ) การศึกษาที่มุ่งต่อการฝึกฝนและพัฒนาในด้านตระหนักรู้ความจริง (ปัญญา)

                 วิเคราะห์พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนบ้านสบเติ๋น โดยกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาเยาวชนใช้หลักปธาน ๔ คือ ป้องกัน ปราบปราม รักษา  เร่งสร้าง (กรอบแนวคิดพุทธวิธี ๒ ป ๒ ร) เยาวชนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างกลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายเยาวชนคนใฝ่ดี ด้วยกิจกรรม ๗ กิจกรรม จากบูรณาการด้วยพุทธวิธีแล้ว ปรากฏว่าเยาวชนดี  พ่อแม่ดี ผู้ปกครองดี ชุมชนดี โรงเรียนดี จนในที่สุดชาวบ้านเลิกผลิต เลิกขาย เลิกเสพยาเสพติด เป็นหมู่บ้านปลอดสิ่งเสพติด วิธีการจัดการดังกล่าว ได้หลักความคิดออกมาชุดหนึ่ง ได้แก่ “รูปแบบการแก้ไขปัญหา             ความรุนแรงของเยาวชนแบบวัดสบเติ๋น (Sobtern Model)” โดยใช้กิจกรรมไปเชื่อมโยงกับพุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงของพระพุทธเจ้า คือหลักปธาน ๔ ผลออกมาสอดคล้องกันตามลำดับ ยืนยันได้ว่าบูรณาการพุทธวิธีกับกิจกรรม มีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาความรุนแรงของเยาวชนได้จริง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕