บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีเพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๑๕ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประเภทเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variances) แบบจำแนกทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
— ผลการวิจัย พบว่าทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๖) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = ๐.๔๔ และการเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๘) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = ๐.๓๕ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า มีทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทัศนคติที่มีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า นักเรียนไม่ค่อยตระหนักถึงความสำคัญของพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทำให้สิ้นเปลือง เสียเวลา ไม่สนุกสนาน ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่ และไม่ส่งเสริมสนับสนุน นอกจากนั้นยังมีครูบางคนที่ไม่ให้ความร่วมมือหรืออำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียน ข้อเสนอแนะ ควรมีนโยบายที่ชัดเจนของผู้บริหารตั้งแต่ในระดับจังหวัด เขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีต่อการเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาให้กับนักเรียนตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
ดาวน์โหลด
|