บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยภาคสนามโดยวิธีการแจกแบบสัมภาษณ์แล้วนำแนวคิดทางการศึกษาตามหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ การบริหารจัดการศึกษามุ่งเป้าหมายระยะยาวสำหรับการพัฒนาของแต่ละบุคคล และการพัฒนาสังคม แต่การจัดการศึกษาโดยทั่วไปย่อมมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งบรรลุหลายประการ กระบวนการบริหารจัดการศึกษาประกอบด้วยภาระงาน ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านวิชาการ ๒) ด้านบริหารงานบุคคล
๓) ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ๔) ด้านงานธุระการ ๕) ด้านความสัมพันธ์ชุมชน
๑. การศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารการจัดการศึกษา มี ๓ ทฤษฎี คือ ๑) ทฤษฎีการบริหารจัดการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกงานที่ผู้บริหารปฏิบัติและแนวทางที่ทำให้การปฏิบัติงานแต่ละอย่างอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ๒) ทฤษฎีการบริหารจัดการศึกษาเชิงมนุษยสัมพันธ์ ที่ผู้บริหารการศึกษาต้องการการพัฒนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตนเองกับคนอื่นในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาและปรับปรุงโดยการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนและบทบาทของผู้บริหาร ได้แก่ การเป็นทั้งผู้ริเริ่มผู้สนับสนุน ผู้ประสานงาน ผู้ให้คำแนะนำ การกระทำของคนอื่น รวมทั้งการยอมรับสติปัญญาของกลุ่ม ๓) ทฤษฏีการบริหารการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการดูแลควบคุมการบริหารงานของสถาบันการศึกษา ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่เป็นไปในลักษณะของการดูแลควบคุมเท่านั้น ยังเป็นไปในลักษณะที่องค์การระดับบริหารของความสนับสนุนจากองค์การระดับสถาบันในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การขอการสนับสนุนทางด้านการเงิน การตรากฎหมาย และการจัดหาบุคลากร
๒) การศึกษาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า พบว่า การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา ได้จัดการศึกษาเป็นรูปแบบคณะกรรมการ มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารภายใน การจัดการศึกษาถือเป็นงานหลักของสถานศึกษาที่บอกถึงมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา เป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษา การบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวัดซับบอนวิทยา เป็นกระบวนการเรียนการสอนและการประยุกต์ใช้ตามหลักไตรสิกขา เป็นการบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการกระบวนการโรงเรียนการกุศลของวัดในพุทธศาสนา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้หลักจริยธรรมที่สัมพันธ์ด้วยหลักสังคม (ศีล) ความสงบสุข (สมาธิ) และให้นักเรียนมีความรู้ ใช้สติปัญญาที่รอบคอบ (ปัญญา) ซึ่งนักเรียนจะต้องลงปฏิบัติจริง การศึกษาเป็นเครื่องมือในการยกระดับจิตใจมนุษย์ สามารถเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยที่ดีให้กับมนุษย์ได้ รวมถึงปลูกฝังความคิดเรื่องการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ให้กับนักเรียนได้ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งมีแนวคิดเบื้องต้นของการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับการบริหารจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขา
๓) แนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนวัดซับบอนวิทยาตามหลักไตรสิกขา พบว่าผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ใช้หลักการบริหารตามหลักไตรสิกขา แบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานการคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการศึกษา สามารถบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหาร ได้ส่งผลที่ดีเนื่องด้วย ๑) สร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้องด้วยมีทรัพยากรทางการบริหารโรงเรียนใน ทุก ๆ ด้าน ๒) กระบวนการฝึกตามหลักของไตรสิกขา คือ การเรียนการสอนโดยใช้ไตรสิกขา การสร้างบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๓) วัดและประเมินผลการใช้ไตรสิกขาในการบริหารจัดการศึกษา คือ ผู้เรียนได้มีการพัฒนา ทางด้านกาย ทางด้านศีล ทางด้านจิตใจ ทางด้านปัญญา เมื่อบุคคลมีความคิดความเชื่อที่ถูกต้องหรือมีสัมมาทิฏฐิแล้ว บุคคลก็พร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปในขั้นสิกขา การพัฒนาในขั้นสิกขานี้ทางพระพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักเรียกว่าไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็นองค์รวมที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพ
ดาวน์โหลด |