หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อมรรัตน์ แย้มกุล
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหาร ส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อมรรัตน์ แย้มกุล ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง          อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ๒. เพื่อเปรียบเทียบศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง           อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ ๓. เพื่อศึกษา         ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่รับบริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๐๔ คน  ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (f-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการศึกษาพบว่า

๑. ประชาชน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้งด้านการวางแผน, ด้านการจัดองค์การ, ด้านการบังคับบัญชา, ด้านการประสานงานและด้านการควบคุม พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และประสบการณ์การใช้บริการ    แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างแตกกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในประสิทธิภาพการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้สูงอายุความต้องการให้เจ้าหน้าที่บริการและช่วยเหลือด้วยความเสียสละ และควรมีการติดตามถามข่าวและออกไปพบปะผู้สูงอายุและย้ายจุดให้บริการผู้สูงอายุจากชั้นที่ ๒ มาอยู่ชั้น ๑ เพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุ และควรมีการปรับขั้นตอนการทำงานให้เร็วขั้น โดยมีการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียวกัน (One Stop Service)

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕