บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางพัฒนาการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบล คลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๓๘๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.17) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการรักษาความสัจ (=3.37) รองลงมาคือ ด้านความสามัคคี (=3.25) ด้านการส่งเสริมคนดี (=3.24) ด้านความสุจริต (=3.19) ด้านความเที่ยงธรรม (=3.19) ด้านการรูจักขมใจตนเอง (=3.18) ด้านการละความชั่ว (=3.11) ด้านความอดทน (=3.09) ด้านความมีเมตา (=3.07) และด้านการเสียสละ (=2.99) ตามลำดับ
๒) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และร้ายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหา อุปสรรค ของการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยมีความเที่ยงธรรมกับพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และไม่ค่อยส่งเสริมบุคลากรให้เข้าอบรม ศึกษาต่อเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ อีกทั้งพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ค่อยใช้สติปัญญาในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องในการทำงาน ไม่ค่อยอดทนต่อความยากลำบากในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่ค่อยนำมาปรับปรุง /แก้ไขแนวทางพัฒนาการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเที่ยงธรรมกับพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ส่งเสริมบุคลากรให้เข้าอบรม ศึกษาต่อเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเพิ่มพูนคุณวุฒิที่สูงขึ้นไป และพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลควรใช้สติปัญญาในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องในการทำงาน มีอดทนต่อความยากลำบากในการปฏิบัติหน้าที่ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมาปรับปรุง /แก้ไข
ดาวน์โหลด
|