บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกจากปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และนำเสนอแนวทางการมีบทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบผสานสานวิธี (Mixed Methods Research)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ รวม ๓๑๒ คน จากทั้งหมดจำนวน ๑,๔๑๐ คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane)สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test)และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๑ คนเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงเชิงประมาณ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑. บทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๓) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพบปะเยี่ยมเยียนและร่วมกิจกรรม( = ๔.๐๑)ด้านการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชน( = ๓.๘๖)ด้านการประชุมวางแผนร่วมกับผู้นำชุมชนและประชาชน( = ๓.๘๕)ด้านการเตรียมการจัดระบบงานและประเมินความพร้อม( = ๓.๗๘)ด้านการแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองและชุมชน( = ๓.๘๙)ด้านการจัดระบบประสานความร่วมมือระหว่างประชาชนกับตำรวจ( = ๓.๘๐)ด้านการติดตามผล ประเมินผลและปรับปรุง( = ๓.๖๑)
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นบทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์จำแนกปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้นำชุมชนที่มีระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้นำชุมชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้นำชุมชนมีความสัมพันธ์กับตำรวจน้อย รู้ปัญหาอาชญากรรมของชุมชนแต่ขาดทักษะในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีการบันทึกสถิติคดีอาญาและวิธีการควบคุมคดีอาญาที่เกิดขึ้นมาแล้วภายในชุมชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งปัญหาด้านขวัญและกำลังใจส่วนข้อเสนอแนะนั้น พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองควรออกไปพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนตามยุทธศาสตร์ Stop Walk and Talk ให้ผู้นำชุมชนเข้าใจในบทบาทหน้าที่และเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการป้องกันปัญหาอาชญากรรมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลด
|