บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนผู้สูงอายุต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนผู้สูงอายุต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและ ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนผู้สูงอายุเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชรจำนวน๒๗๒ คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (f-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประชาชนผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๘ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมา
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนผู้สูงอายุต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชรจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่าประชาชนผู้สูงอายุที่มีเพศ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างแตกกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะพบว่า มีการเข้าไปให้ความรู้ในด้านการรักษาสุขภาพน้อย การตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุป่วยติดเตียงมีน้อย ไม่มีศูนย์บริการผู้สูงอายุเพื่อเข้าปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ เครื่องออกกำลังกายมีไม่ครบทุกหมู่บ้าน งบประมาณสนับสนุนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามีน้อย ฉะนั้นจึงควรจัดอบรมและสนับสนุนงบประมาณให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้เพียงพอและครอบคลุมทุกด้าน ควรมีศูนย์บริการผู้สูงอายุ มีเครื่องออกกำลังกายทุกหมู่บ้าน สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรม มาดำเนินนโยบาย แก้ไข
ดาวน์โหลด
|