หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นริศรา พลอยเพ็ชร์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไข พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นริศรา พลอยเพ็ชร์ ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อัครเดช พรหมกัลป์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๓๙ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่  ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๕๔ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test) การทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยสภาพแวดล้อมกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๒๕ คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท         

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ มีพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดมากที่สุด คือ บุหรี่ จำนวน ๒๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๔ รองลงมา คือสุรา จำนวน ๒๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๐ กัญชา จำนวน ๑๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๖ ยาบ้า จำนวน ๑๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓ ไอซ์ จำนวน ๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๗ ใบกระท่อม จำนวน ๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๙ สารระเหย จำนวน ๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๐ ลีน จำนวน ๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๐ โปร จำนวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗ สารผสมน้ำต้มใบกระท่อม จำนวน ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๘ ยากล่อมประสาท จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘ ฝิ่น จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๙ ยาอี/ยาเลิฟ และยาเค/เคตามีน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๕ โคเคน จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๑ และน้อยที่สุด คือ เฮโรอีน จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๓

๒. ระดับปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=.๖๑) ในขณะที่ระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=.๔๕)

๓. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=.๗๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและการจัดกิจกรรม (=๓.๘๓) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน (=๓.๘๐) ด้านการบูรณาการงานภาครัฐ (=๓.๗๙) ด้านการป้องกันการกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดซ้ำ (=๓.๗๕) ด้านการสร้างจิตสำนึกและภูมิคุ้มกัน (=๓.๗๒) และด้านมาตรการทางกฎหมายและการปราบปราม (=๓.๖๖) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบำบัดรักษา (=๓.๔๔)

๔. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ ๔ ในการค้นหาสาเหตุ แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหา และหลักไตรสิกขาในการนำมาพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวม โดยพัฒนาทางด้านพฤติกรรมทั้งทางกายและวาจา (ศีล) พัฒนาจิตใจให้มีสุขภาพจิตที่ดี (สมาธิ) และพัฒนาทัศนคติ มุมมอง และความมีเหตุผล (ปัญญา) ซึ่งจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเกิดความยั่งยืนยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕