บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการ ของหน่วยวิทบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการ ของหน่วยวิทบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์ การบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการ ของหน่วยวิทบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qulitative Research) โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้ง ๓ แห่ง จำนวน ๒๖๒ รูป/คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด ๗๖๓ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนาความ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
๑.ระดับความคิดเห็นการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =๔.๐๙) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล ( =๔.๑๗) ๒) อัตตัญญุตา รู้จักตน ( =๔.๑๔) ๓) ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน และรู้จักถิ่น ( =๔.๑๓) ๔) ปุคคลปโรปรัญญุตา รู้จักบุคคล ( =๔.๑๐) ๕) กาลัญญุตา รู้จักกาล ( =๔.๐๓) ๖) ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ ( =๔.๐๑) ๗)มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ( =๔.๐๑) ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าบุคลากรที่มีเพศ สถานภาพการครองเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา และบทบาทหน้าที่ในสถานศึกษา มีความเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า ปัญหา อุปสรรคส่วนหนึ่งเกิดจากบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจใน กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัยและขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ขาดความเป็นมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การต้อนรับ อัธยาศัยไมตรี นิสิตต้องการแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็วมีประสิทธิภาพ นิสิตส่วนมากชอบออกกลางคัน รวมทั้งสถานที่เรียนไม่เพียงพอและเงินงบประมาณสนับสนุนในการบริหารจัดการแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาต่อการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า หน่วยวิทยบริการควรส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้นการสร้างองค์กรแบบมีส่วนร่วมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้ทุ่มเททำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถไม่ย่อท้อหรือหักโหมจนเกินตัวในทุก ๆ ด้านจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงขั้นตอนในการทำงาน การทำวิจัยร่วมกับชุมชน การนำนิสิตเข้าไปพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น โรงเรียน และทำกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมหรือชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่ให้บริการให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้บรรลุตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
ดาวน์โหลด
|