บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำและภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร
ส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยผสานวิธี
(Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้
แบบ สอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ ( F-test ) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยว (One-way Analysis of Variance) และโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-deep Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) จำนวน ๗ ท่าน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = ๓.๖๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้าน เมตตา ( = ๓.๖๙), ด้านกรุณา ( = ๓.๖๓), ด้านมุทิตา( = ๓.๕๖), และด้านอุเบกขา ( = ๓.๖๔) อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อ ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปลิงอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏเสธ
สมมติฐานที่ตั้งไว้
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรม
ของผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ การให้บริการที่ล่าช้า เนื่องจากพนักงานขาดการทำงานบ่อย จึงอยากให้ผู้บริหารหรือผู้นำเน้นเรื่องของระเบียบวินัยในการปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอในการรับใช้ประชาชน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำต้องปฏิบัติตามหลักพรหมวิหารธรรมให้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินการขององค์การปกครองท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ดาวน์โหลด
|