บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์
ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จำนวน ๓๘๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๐ รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.22) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) (= ๓.๓๒) ด้านกระบวนการ(Process) (= ๓.๑๗) และ ด้านผลผลิต (Output) (= ๓.๑๗) ตามลำดับ
๒) เพศ อายุ และอาชีพของประชาชนมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนการศึกษา และรายได้ของประชาชนไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหาต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขาดการจัดระบบสารสนเทศที่ทันสมัย อีกทั้งผู้ดูแลเด็กส่วนมากไม่จบการศึกษาสาขาปฐมวัย ขาดประสบการณ์ ไม่ทำการประเมินพัฒนาการเด็ก ให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง แหล่งความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์น้อยเกินไป ผลการพัฒนาการเด็กในแต่ละด้านยังไม่น่าพอใจ ส่วนแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอนต้องสนับสนุนงบประมาณในทุกๆ ด้าน ชุมชนควรให้ความร่วมมือต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อการดูแลเด็ก ควรจัดสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ให้มีเพียงพอต่อจำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) มีให้บริโภคเพียงพอและทั่วถึง ผู้ดูแลเด็กมีการแบ่งภาระรับผิดชอบเป็นสัดส่วน และมีความสามัคคีเสียสละและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
ดาวน์โหลด
|