บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๑๘๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.๒๔) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) (= ๓.๓๕) รองลงมาคือ ด้านวิมังสา (การพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น) (= ๓.๒๗) ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้น) (= ๓.๒๓) ด้านจิตตะ (การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น) (= ๓.๑๐) ตามลำดับ
๒) ผลการทดสอบสมมตฺฐาน พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหา อุปสรรคของการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า บุคลากรขาดความมุ่งมันและได้รับการมอบหมายเป็นงานที่ไม่ถนัด ตำแหน่งงานไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถซึ่งเป็นผลมาจากความลำเอียงและไม่เป็นธรรม แนวทางพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าบุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ อีกทั้งยังเอาใจใส่ในงาน มีความซื่อสัตย์เที่ยงตรงต่อการปฏิบัติงาน และบังคับบัญชาควรเห็นอกเห็นใจลูกน้อง ไม่เอาแต่ประโยชน์ตัว ไม่ลำเอียง เป็นธรรมบุคลากรทุกฝ่ายและมีความรอบครอบในการปฏิบัติงาน มีการติดตามประเมิลผล และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมบุคลากรในหน่วยงานตลอดจนหมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของบุคลากร
ดาวน์โหลด
|