หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสถาพรพัชรากร (พร้อม ฐานกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสถาพรพัชรากร (พร้อม ฐานกโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริคีรีรักษ์
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๓๘๔ คน จาก ,๕๙๐ คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติดังนี้ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = ๓.๙๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= ๔.๐๒) ด้านด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล (= ๓.๙๖) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ( = ๓.๙๕) และการมีส่วนร่วมในการวางแผน ( = ๓.๘๘)

๒. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน

๓. ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การจัดทำแผนชุมชนไม่ค่อยต่อเนื่องทำให้ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำประชาคมและขาดความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของตนเอง ข้อเสนอแนะ คือ ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ควรเน้นที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับประชาชน ควรให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน ควรจัดทำแผนชุมชนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนตลอดจนมีความสามัคคีพร้อมใจกันทำกิจกรรม และควรมีส่วนร่วมมือในการติดตามและประเมินผล และควรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาอบรมเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อที่จะได้เข้าใจในระบบการบริหารจัดการหรือการพัฒนาท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕