บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตริ ๒) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จำนวน ๓๖๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้ คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้น ตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ระดับประสิทธิภาพการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.๕๕) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (= ๓.๕๗) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (= ๓.๕๖) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านอาคารสถานที่ (= ๓.๕๒)
๒) ผลการการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหา อุปสรรคของการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร พบว่า ไม่มีการสื่อสารและอธิบายขั้นตอนการให้บริการอย่างชัดเจน เมื่อประชาชนสอบถามแต่เจ้าหน้าที่ไม่คอยให้คำตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการขอรับบริการ เจ้าหน้าที่ไม่คอยให้คำแนะนำและไม่คอยเอาใจใส่ต่อผู้ใช้บริการ ให้บริการไม่เป็นธรรม ไม่บริการด้วยความเที่ยงธรรม บางวันมีประชาชนมาใช้บริการมากทำให้เก้าอี้ที่ผู้รับบริการนั่ง รอรับบริการ และห้องน้ำที่ไม่เพียงพอและไม่สะอาด ไม่มีระบบบัตรคิว ทำให้การบริการไม่เป็นธรรม สิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่ทำการมีไม่พียงพอ ข้อเสนอแนะในการให้บริการตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร พบว่า ควรจัดเจ้าหน้าที่ที่มีจิตใจให้บริการ รักในการบริการด้วยความเต็มใจ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มาคอยให้บริการประชาชนผู้มาใช้บริการ ควรจัดเจ้าหน้าที่คอยสอบถาม ขวนขวายช่วยเหลือในการเขียนคำร้อง คำแถลงและบริการอื่นๆ รวมทั้งระเบียบข้อกฎหมายของ อบต. ให้ความสนใจเอาใจใส่ให้บริการประชาชนด้วยความถูกต้อง และเป็นธรรม ประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมากองค์การบริหารส่วนตำบลควรจัดเตรียมเก้าอี้ที่ผู้รับบริการนั่ง รอรับบริการไว้และควรดูแลห้องน้ำให้สะอาดเสมอ ควรจัดให้มีบริการแจกบัตรคิวเพื่อความเสมอภาคแก่ประชาชน ควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่ทำการ เช่น ปากกา กาว กรรไกร ที่เย็บกระดาษ เป็นต้น
ดาวน์โหลด
|