โยชนามูลกัจจายนะ แต่งโดยพระญาณกิตติ แต่งสมัยล้านนา เป็นคัมภีร์ที่แต่งอธิบาย
คัมภีร์มูลกัจจายนะ จารลงในใบลานด้วยอักษรขอม เป็นคัมภีร์เรียนเฉพาะในประเทศไทย
โดยทั่วไปเรียกว่ากัจจายนไวยากรณ์ จัดเป็นคัมภีร์ประเภทวรรณคดี สายสัททาวิเสส
เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้ แบ่งออกเป็น ๕ บท คือ : บทแรก เป็นบทนำ กล่าวถึง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และวิธีดำเนินการวิจัย, บทที่ ๒ ศึกษาโยชนามูลกัจจายนะ
คือ ต้นฉบับคัมภีร์ที่ใช้ในการตรวจชำระ วิธีการและหลักเกณฑ์การตรวจชำระ วิวัฒนาการความ
เป็นมาของการคัดลอกและการจารต้นฉบับ ข้อผิดพลาดที่พบในการจาร ในด้านเนื้อหา และ
วิธีการเขียนคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ ลักษณะภาษา คุณค่าของคัมภีร์โยชนามูลกัจจายนะ และ
นิคมนคาถา, บทที่ ๓ โยชนามูลกัจจายนะที่ตรวจชำระแล้ว พร้อมทั้งข้อผิดพลาด, บทที่ ๔
โยชนามูล
กัจจายนะแปล, บทที่ ๕ ว่าด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลของการวิจัยพบว่า คัมภีร์โยชนามูลกัจจายะ ปริเฉทที่ ๗-๘ (กิพพิธาน และอุณาทิ)
มีการจารลงในใบลานอักษรขอม ภาษามคธ ฉบับสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นฉบับที่มีเนื้อหาที่สมบูรณ์
ที่สุด และมีการแต่งคัดลอกต่อ ๆ กันมาหลายฉบับ ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาในคัมภีร์มูลกัจจายะ
มีวิวัฒนาการมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก และสัททาวิเสสอื่น ๆ คือ คัมภีร์สัททนีติ, คัมภีร์รูปสิทธิ,
คัมภีร์นยาสะ, และคัมภีร์โมคคัลลานะ ด้วยการนำเนื้อหามาจากคัมภีร์สัททาวิเสสต่าง ๆ แสดงอ้าง
ปรับปรุง และแต่งเสริมเข้าไป บางส่วนพระญาณกิตติแต่งขึ้นเอง คือแต่งอธิบายศัพท์ที่
ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ โดยอ้างสูตร วุตติ และอุทาหรณ์จากคัมภีร์อื่น ๆ มาประกอบการอธิบาย
ศัพท์เพื่อเป็นการรองรับความสมบูรณ์ของคัมภีร์ที่ท่านแต่ง
Download : 254866.pdf
|