บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑)เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตร๒)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตร
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรคือจำนวน ๓๙๓คนจากประชากรจำนวน ๒๓,๐๕๓ คนโดยใช้สูตรของ Taro Yamaneสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)จำนวน ๘คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑)กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตรโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =๔.๐๐) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน( =๓.๙๙) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ( =๓.๙๙) ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย( =๓.๙๐) ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พณิชยกรรม และการท่องเที่ยว( =๓.๗๙) ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ( =๔.๐๔)ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น( =๔.๐๐)
๒) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้แตกต่างกัน มีระดับคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ระบบการก่อสร้างและการบำรุงรักษาท้องถนนยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ขาดส่งเสริมด้านอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพการจัดระเบียบสังคมยังมีความไม่เสมอภาคเนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและดูแลไม่ทั่วถึงขาดการพัฒนาและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวทำให้ได้รับความสนใจน้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่าควรจัดให้มีระบบควบคุมดูแลการก่อสร้าง และบำรุงรักษาถนน อย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่เขตเทศบาลเมืองควรมีการสนับสนุนด้านการศึกษาให้มีคุณธรรมเพื่ออนาคตของเยาวชนและลูกหลานเมืองพิจิตร ควรส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆตลอดจนประสานความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกๆด้านควรส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาอาชีพและการขยายโอกาสสำหรับเกษตรกรและชาวบ้านทั่วไป
ดาวน์โหลด
|